รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงชอบรีไฟแนนซ์

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงชอบรีไฟแนนซ์ 

จุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์บ้าน

          1. กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง : หลังจากที่ครบ วาระดอกเบี้ยโปรโมชั่น อาจจะ 1 หรือ 3 ปี แล้วแต่โปรโมชั่นที่คุณรับมาจากธนาคาร เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยมักเป็นไปในลักษณะลอยตัว (MLR) หรือ ลอยตัวแล้วมีส่วนลด คือ MLR- ซึง MLR แต่ละธนาคารก็จะไม่เ่ท่ากัน ผู้ที่ต้องการจะรีไฟแนนซ์ก็ต้องมาตรวจสอบดูส่วนต่าง ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับค่าใช้จ่ายหลังจากรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ซึ่งทุกปี แต่ละธนาคารก็จะแ้ข่งขันกันออกโปรโมชั่นดอกเบี้ย ดึงลูกค้ากันเอง เราก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่าที่ไหนดี่ที่สุด เทียบกับที่เราใช้อยู่ บวกลบ แล้วมีกำไรคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายไปได้เลย

 

          2. กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย : การรีไฟแนนซ์แบบที่นี้ อาจจะทำให้ภาระผ่อนชำระในส่วนของบ้านเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นแนวทางในการหาเงินทุนหมุนเวียน ในกิจการของคุณ หรือ ถ้ากรณีคุณนำส่วนต่างที่ได้จากการรีไฟแนนซ์บ้านไปชำระหนี้ในส่วนอื่น เช่น ไปปิดบัตรเครดิตซึ่งอัตราดอกเบี้ยกว่า 25-28% เทียบกับดอกเบี้ยบ้านทถูกกว่า ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจ

 

          3.  คือกรณีบ้านไม่มีภาระแล้ว รีไฟแนนซ์บ้านวิธีนี้จะได้ต้นทุนถูกที่สุด ประมาณ 4-5% แตกต่างจากกรณีเรามีภาระผ่อนชำระอยู่แล้วขอกู้เพิ่ม ส่วนกู้เพิ่มมักถูกคิดอัตราดอกเบี้ยอุปโภคบริโภค ซึ่งอยู่ประมาณ 12-15%

 

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน

          1. กรณียังผ่อนชำระต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน : เพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง กรณีนี้ท่านเพียงตรวจสอบกับธนาคารว่าที่ใดให้ อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ก็ยื่นเอกสารกับธนาคารนั้นได้เลย

 

          2. กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย : กรณีนี้ท่านมีภาระต้องดำเนินการอย่างน้อยสองประการคือ

                    2.1. ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและ เงื่อนไขที่ดีที่สุด จากธนาคาร

                    2.2. ยื่นเอกสารกับธนาคารเป้าหมายอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไปหรือมากกว่า

                    2.3. เลือกเอาธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด

 

ทำไมต้องยื่นหลายธนาคาร

          ต้องยื่นเอกสารหลายธนาคาร : สมมติว่าธนาคารที่ท่านยื่น ให้เงื่อนไขว่าให้กู้ยืมได้ ไม่เกิน 110% ของราคาประเมิน ปัญหาคือแต่ละธนาคารมีการประเมินราคาหลักทรัพย์แตกต่างกันเนื่องจากใช้บริษัทประเมินราคาคนละบริษัท ดังนั้น ราคาตั้งตั้นที่จะใช้คิดก็แตกต่างกัน

 

ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์บ้าน

          1. ควรคำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ให้ดี ฉะนั้นการรีไฟแนนซ์อาจจะไม่คุ้มค่า

          2. MLR แต่ละธนาคารไม่เท่ากัน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นเช่น MLR-1 ของแต่ละธนาคารจึงไม่เท่ากัน

          3. บางธนาคารท่านสามารถต่อรองดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นได้ นั่นคือท่านอาจจะไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก็ได้

          4. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางธนาคาร มีโปรโมชั่นเช่น ฟรีจดจำนอง เหมาะสำหรับท่านที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนอง (1%) ในวันที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์

          5. ประกันภัยประกันชีวิตประเภทต่างๆที่ธนาคารขายคู่กับสินเชื่อเป็นเรื่องที่สามารถต่อรองได้ควรเลือกที่เหมาะสมกับท่าน

          6. การรีไฟแนนซ์การระยะดอกเบียโปรโมชั่นปกติจะประมาณ 3%แต่บางธนาคารสูงถึง 5% ท่านต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนการเลือกใช้

 

ที่มา https://decor.mthai.com