โปะ ปิด จบ! เคล็ดลับปลดหนี้บ้านให้ไว เหมือนติดจรวด
1. ปิดบัญชีหนี้เพื่อจบทุกภาระผูกพันด้วยการ "ปิดบ้าน"
ปิดบ้าน หมายถึง การชำระหนี้บ้านทั้งหมดที่เหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นเงินต้นและดอกเบี้ย (รวมถึงดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นจากการปิดบัญชีก่อนกำหนด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสัญญา) จนครบตามจำนวนที่ธนาคารกำหนด เมื่อปิดบ้านสำเร็จ กรรมสิทธิ์ในบ้านก็จะตกเป็นของเราอย่างสมบูรณ์ และเราจะไม่มีภาระหนี้สินเกี่ยวกับบ้านหลังนั้นอีกต่อไป
ข้อดีของการปิดบ้าน
- หมดหนี้สินอย่างแท้จริง: คุณจะหลุดพ้นจากภาระผ่อนบ้านรายเรือน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ของหลายๆ ครอบครัว
- อิสระทางการเงินเต็มที่: การไม่มีหนี้บ้านทำให้คุณมีอิสระในการวางแผนทางการเงิน สามารถนำเงินไปลงทุน ทำธุรกิจ หรือใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องผ่อนบ้าน
- ความสบายใจ: การปลดภาระหนี้สินก้อนใหญ่จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจและมั่นคงในชีวิตมากขึ้น
ข้อเสียของการปิดบ้าน
- ต้องมีเงินก้อนใหญ่: การปิดบ้านจำเป็นต้องมีเงินก้อนใหญ่ ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน
- เสียโอกาสในการลงทุน: หากคุณนำเงินก้อนทั้งหมดไปปิดบ้าน อาจทำให้พลาดโอกาสในการนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยบ้าน
2. เติมเงิน "โปะบ้าน" ลดทั้งต้นทั้งดอก
โปะบ้าน หมายถึง การชำระเงินค่างวดบ้านเพิ่มเติมนอกเหนือจากจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระตามปกติ โดยเงินที่โปะเพิ่มเข้าไปนั้น ส่วนใหญ่จะนำไปลดเงินต้น ทำให้เงินต้นลดลงเร็วขึ้น ส่งผลให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในอนาคตลดลง และระยะเวลาในการผ่อนบ้านสั้นลง
ข้อดีของการโปะบ้าน
- ลดดอกเบี้ยโดยรวม: การโประบ้านช่วยลดเงินต้น ทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละงวดและตลอดอายุสัญญาเงินกู้ลดลงอย่างมาก
- ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น: เมื่อเงินต้นลดลงเร็วขึ้น ระยะเวลาในการผ่อนบ้านก็จะสั้นลง ทำให้คุณเป็นอิสระจากหนี้บ้านได้เร็วขึ้น
- ยืดหยุ่นกว่าการปิดบ้าน: การโปะบ้านสามารถทำได้ตามกำลังทรัพย์ที่มี ไม่จำเป็นต้องมีเงินก้อนใหญ่เหมือนการปิดบ้าน
ข้อเสียของการโปะบ้าน
- ต้องมีวินัยในการออม: การโปะบ้านอย่างสม่ำเสมอต้องอาศัยในการออมเงินและบริหารจัดการเงินที่ดี
- ผลลัพธ์อาจไม่ชัดเจนในระยะสั้น: การโปะบ้านอาจต้อใช้เวลาพอสมควรกว่าที่จะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนในเรื่องของระยะเวลาการผ่อนที่ลดลง
หลักการสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ ดอกเบี้ยเงินกู้บ้านจะถูกคำนวนจากยอดเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด ยิ่งเงินต้นเหลือน้อยเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายก็จะน้อยลงเท่านั้น
กรณีที่ 1: โปะทีเดียวสิ้นปี 12,000 บาท
หากคุณโปะเงิน 12,000 บาท ในครั้งเดียว ณ สินปี (สมมติว่าเป็นเดือนธันวาคม) เงินจำนวนนี้จะถูกนำไปลดเงินต้นคงเหลือ ณ เวลานั้น ทำให้ยอดเงินต้นสำหรับงวดต่อไปลดลง และดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายงวดถัดไปก็จะลดลงตามไปด้วย โดยคุณจะได้ประโยชน์จากการลดเงินต้นจำนวน 12,000 บาท ในช่วงเวลาสั้นๆ คือ ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป
กรณีที่ 2: โปะเดือนละ 1,000 บาท
หากคุณโปะเงินเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 12 เดือน (รวมเป็น 12,000 บาท) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
- เดือนที่ 1 เงินต้นลงลง 1,000 บาท ทำให้ดอกเบี้ยในเดือนถัดไปคำนวนจากเงินต้นที่น้อยลง
- เดือนที่ 2 เงินต้นลดลง 1,000 บาท ทำให้ดอกเบี้ยในเดือนถัดไปคำนวนจากเงินต้นที่น้อยลงไปอีก
- ...และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงเดือน 12
พิจารณาเปรียบเทียบจาก 2 กรณี
- การลดเงินต้นที่เกิดขึ้นเร็วกว่า: การโปะเดือนละ 1,000 บาท จะเริ่มลดเงินต้นตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่การโปะ 12,000 บาท จะลดเงินต้นก็ต่อเมื่อสิ้นปี
- ผลกระทบต่อการคำนวนดอกเบี้ย: เมื่อเงินต้นลดลงเร็วขึ้น (จากการโปะรายเดือน) ฐานในการคำนวนดอกเบี้ยแต่ละงวดก็จะลดลงตามไปด้วย หมายความว่า คุณจะจ่ายดอกเบี้ยน้อยลงในทุกๆ เดือน ตลอดทั้งปี
- พลังของเวลา: การลดเงินต้นตั้งแต่เนิ่นๆ จะมีผลสะสมไปเรื่อยๆ ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้มากกว่าในระยะยาว และอาจทำให้ระยะเวลาการผ่อนสั้นลงได้มากกว่าเล็กน้อย